ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับงานกระจก
วันนี้ผมขอลงลึกในเรื่องของกระจกลามิเนตบ้างนะครับ ถ้าพูดถึง 'กระจกนิรภัยลามิเนต' (Safety Laminated Glass) หลายๆท่านอาจจะทราบว่า หมายถึงกระจกที่ใช้ฟิล์ม PVB มาประกบแซนด์วิชไว้ตรงกลางระหว่างกระจกสองแผ่น เพื่อให้เมื่อกระจกแตกแล้วไม่มีส่วนแหลมคมออกมาทำอันตรายเราได้ แบบนี้... คำว่า 'กระจกนิรภัยลามิเนต' นี่ เราไม่นับรวมกระจกสำหรับงานตกแต่งภายในที่ไม่ได้ต้องมีคุณสมบัติเป็นกระจกนิรภัย อย่างเช่น กระจกลามิเนตลายผ้า กระจกพ่นสีหรือกระจกเงาที่เอามาประกบกันด้านหลัง งานแนวๆนี้ ส่วนใหญ่จะผลิตด้วยฟิล์ม…
บทความวันนี้ ผมขอเขียนถึงกาวมหัศจรรย์สำหรับงานกระจกที่มีชื่อว่า 'กาวยูวี' (UV Glue) ซึ่งเป็นกาวที่นิยมใช้สำหรับการเชื่อมต่อกระจกกับกระจก และกระจกกับสเตนเลสได้อย่างติดแน่นถาวร แน่นชนิดที่ว่าแกะยังไงก็แกะไม่ออกกันเลยทีเดียวครับ! ถ้าท่านเคยไปเดินตามเอสบีหรืออินเด็กซ์ แถวๆโซนเฟอร์นิเจอร์นำเข้า หลายๆท่านอาจจะเคยเห็นเฟอร์นิเจอร์กระจกแบบเปลือยๆที่เค้าเอากระจกมาต่อๆกันเป็นชั้นวางของ โต๊ะ ตู้ต่างๆ โดยหากสังเกตที่รอยต่อของกระจกเหล่านี้ เราจะหาร่องรอยของกาวที่เอามาต่อกระจกไม่เจอเลยครับ เพราะจุดที่กระจกเชื่อมต่อกันนั้น มันจะเรียบติดสนิทกันเป๊ะๆ เลยทีเดียว! และอีกแบบที่เราอาจจะเคยเห็นกันมาบ้าง คือศาลพระภูมิที่ทำด้วยกระจกทั้งหลัง แบบนี้เค้าใช้เทคนิคเอากระจกหลายๆแผ่นมาซ้อนๆกันโดยติดกระจกด้วยกาวยูวี…
ทุกท่านคงรู้จักและคุ้นเคยกับกระจกเทมเปอร์ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าพูดถึงกระจกฮีทเสตร็งเท่น... หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบว่ามันมีประโยชน์ยังไง ทำไมมีกระจกเทมเปอร์แล้ว ยังต้องมีกระจกฮีทสเตร็งเท่นให้วุ่นวายด้วย? บทความนี้... ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักอีกแง่มุมของกระจกที่มีส่วนคล้ายกับเทมเปอร์ แต่ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไม่น้อยเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักกับ 'กระจกฮีทสเตร็งเท่น' (Heat-Strengthened Glass) ไปพร้อมๆกันเลยนะครับ! กระจกฮีทสเตร็งเท่นต่างกับกระจกเทมเปอร์ยังไง? จริงๆแล้ว กระจกทั้งสองชนิดจะมีคอนเซ็ปในการผลิตกระจกเหมือนๆกัน คือนำกระจกโฟลต (Annealed Glass) มาผ่านการอบที่ความร้อนประมาณ 650-700…
กระจกที่ผมนำมารีวิวในครั้งนี้ เป็นการแสดงความเห็นเป็นการส่วนตัว ซึ่งในบางเรื่องอาจขึ้นอยู่กับรสนิยมหรือความชอบของแต่ละบุคคล หากมีส่วนใดที่ผมแสดงความเห็นหรือคอมเมนท์ที่ไม่เหมาะสมประการใด ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ - กระจกไม่กระจอก - กระจกเขียวใสของ AGC ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Ocean Green ตัวนี้ มีข้อดีตรงที่ให้แสงส่องผ่านได้ถึง 75% แต่ก็ปล่อยความร้อนผ่านเข้ามาได้ถึง 62%…
สำหรับหัวข้อวันนี้ ผมขอนำเสนอบทความในเรื่องของ 'กระจกสีตัดแสง'... แต่ก่อนอื่น ผมคงต้องอธิบายก่อนว่า กระจกสีตัดแสงคืออะไร? ใช่กระจกเขียวใสที่ทุกท่านรู้จักกันรึป่าว? รู้จักกับ 'กระจกสีตัดแสง' กระจกสีตัดแสง ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า 'Tinted Glass' หรือ 'Heat-Absorbing Glass' จริงๆแล้วกระจกสีเหล่านี้ ก็จะมีส่วนประกอบเหมือนกระจกใสนี่แหละครับ แต่เค้าจะเพิ่มอ็อกไซด์ของโลหะชนิดต่างๆเข้าไปในน้ำกระจกในระหว่างขั้นตอนการหลอมกระจกโฟลต ซึ่งพวกโลหะเหล่านี้จะเป็นตัวที่ทำให้สีในเนื้อกระจกเข้มขึ้น และสามารถปรับส่วนประกอบของโลหะรวมถึงปริมาณที่ผสมเข้าไป…
สำหรับบทความนี้ เป็นบทความ 'ปูพื้น' ในเรื่องของกระจกประหยัดพลังงานกันก่อนนะครับ เพราะผมเชื่อว่ามีหลายๆท่านที่คงอยากเลือกใช้กระจกประหยัดพลังงานได้ด้วยตัวเอง แต่เวลาคุยกับบริษัทกระจก จะเจอกับตารางเปรียบเทียบค่าประสิทธิภาพต่างๆที่มีตัวเลขมากมาย ทำนองนี้... บอกตามตรงครับ ถ้าผมเป็นเจ้าของโครงการหรือช่างกระจกที่ไม่ได้ศึกษาในเรื่องนี้มาก่อน ผมเลือกไม่เป็นหรอกครับ! เพราะข้อมูลมาแบบนี้ บุคคลทั่วไปเค้าจะเข้าใจได้อย่างไรครับว่า กระจกที่เรานำมาเปรียบเทียบกันนั้น มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? บทความนี้ ผมจึงขอถือโอกาสอธิบายเรื่องที่น่ากลัวเรื่องนี้ให้ง่ายขึ้น โดยขอเน้นไปที่แค่สองค่าพอคือ "Visible Light Transmission" และ…
วันนี้ผมมีเคสตัวอย่างเคสนึงที่อยากจะเล่าสู่กันฟังครับ ลูกค้ารายนี้เป็นผู้รับเหมาตกแต่งภายในที่ไปรับงานบ้านหลังนึงซึ่งมีพื้นที่ส่วนกลางที่ผู้ออกแบบเลือกสเปคเป็นกระจกโค้ทสีหนา 6 มม. ติดบนฝ้าเพดานลักษณะตามรูปครับ แต่ในมุมมองของผม การใช้กระจก 6 มม.แปะไว้บนเพดานด้วยกาวซิลิโคนแบบนี้... มีเรื่องใหญ่คือความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยที่ต้องคำนึงให้มากๆเลยทีเดียว เพราะเมื่อไหร่ที่เราจะติดกระจกไว้บนฝ้าเพดาน เราจะต้องเผื่อความเสี่ยง ที่กระจกมีโอกาสแตกหรือหล่นลงมาโดนคนที่อยู่ด้านล่างได้ แม้โอกาสจะเกิดได้ยากเต็มที แต่เราจะละเลยความเสี่ยงในเรื่องนี้ไม่ได้เลยนะครับ แม้จะมีโอกาสที่กระจกจะแตกได้แค่ 1% แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่ดี และถ้าเกิดขึ้นแล้ว... เรื่องใหญ่แน่ครับ…